คำอธิบายรายวิชา
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
1.1) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
GED1001 : สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า (Information Study Skill) 3(3-0-6)ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและแหล่งสารสนเทศอื่น ทักษะการรับรู้สารสนเทศ การสืบค้น การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศเพื่อนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิง จริยธรรม ในการใช้สารสนเทศ ตลอดจนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
GED1002 : ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication) 3(3-0-6)
ศึกษาภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ ทั้งหลักการ ทฤษฏีและการปฏิบัติ การฟัง การพูด การอ่านและ การเขียน ศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์จากการอ่าน การฟังสารต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้ตามขั้นตอนและรูปแบบของการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูด
GED1003 : ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (English Basics) 3(3-0-6)
พัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน สามารถฟังและเข้าใจข้อความหรือบทสนทนาได้ โดยใช้กลยุทธ์การฟังที่เหมาะสม เน้นความสามารถในการใช้ภาษา ในการติดต่อสื่อสารสามารถพูดบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน และใช้ภาษาอังกฤษในการเล่าเรื่อง และอธิบายเรื่องราวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถอ่านและวิเคราะห์โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนได้ สามารถใช้ กลยุทธ์การอ่านที่เหมาะสมในการท าความเข้าใจเนื้อเรื่องและการสรุปใจความสำคัญ สามารถเขียนข้อความสั้นๆ และสามารถใช้พจนานุกรมประกอบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
GED1004 : ภาษาอังกฤษเพื่อการประยุกต์ใช้ (English for Application) 3(3-0-6)
เรียนรู้กลวิธีในการใช้ทักษะทั้ง 4 ด้านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการเรียนรู้วิชาการในศาสตร์ของตน การสมัครงานและการทำงานในองค์การด้านการอ่าน เน้นการสรุปความ การวิเคราะห์และตีความจากสิ่งที่อ่าน ด้านการเขียนเน้นการเขียน ความเรียงทางวิชาการ โดยใช้ข้อมูลจากการค้นคว้าจากแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ด้านการฟังเน้นการสรุปความ และแปลความหมายจากสิ่งที่ได้รับฟัง ด้านการพูดเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสาขาวิชาและการพูดโดยฉับพลันใน
ชีวิตประจำวันได้1.2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
GED2001 : พุทธทาสศึกษา (Buddhadasa Studies) 3(2-2-5)
ศึกษาคำสอน วิธีคิด และกระบวนการเรียนรู้ของท่านพุทธทาส ปณิธาน 3 ประการในการให้ศาสนิกชนเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งซึ่งเป็นที่สุดแห่งศาสนาของตน การทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา การนำเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยม การประยุกต์คำสอน และวิธีปฏิบัติตามทางของท่านพุทธทาสสู่การดำรงชีวิตที่สมถะ เรียบง่าย และพอเพียง
GED2002 : ปรัชญากับชีวิต (Philosophy and Life) 3(3-0-6)
แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาและกลุ่มลัทธิปรัชญา แนวทางในการดำเนินชีวิตและทำงานตามแนวปรัชญาและศาสนา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมจัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
GED2003 : การพัฒนาตน (Self Development) 3(3-0-6)
พฤติกรรมมนุษย์ สาเหตุปัจจัยแห่งพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีทางจิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาตนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและทักษะชีวิตการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การแก้ปัญหาภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม การประเมินผลการพัฒนาตนเองเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
GED2004 : สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) 3(3-0-6)
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคุณค่า และความงามท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม การรับรู้คุณค่าและการสัมผัสความงามและการแสดงออก ทางอารมณ์ของมนุษย์รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าและความงามในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์เช่น ความงามในด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ตลอดจนความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์
1.3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
GED3001 : วิถีโลก (Global Society and Living) 3(3-0-6)
การดำรงอยู่ของมนุษย์ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก สถานการณ์ด้านสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงโลก ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกและประเทศไทย การปรับตัวของประเทศไทยในการเป็นประชาคมโลกและประชาคมอาเซียน
GED3002 : วิถีไทย (Thai Living) 3(3-0-6)
โครงสร้างและวิวัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมไทย การรักษาเสถียรภาพเอกลักษณ์ของสังคมไทย ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม การรับรู้สิทธิหน้าที่ของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรหัส
GED3003 :กฎหมายกับสังคม (Law and Society) 3(3-0-6)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ชีวิตและสังคมสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลตามกฎหมาย พื้นฐานความรับผิดในทางแพ่งและในทางอาญากระบวนการยุติธรรมของไทยตามประมวลกฎหมาย และวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและสังคม เช่น กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน เป็นต้น
1.4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
GED4001 : วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต (Science for Quality of Life) 3(3-0-6)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาสาเหตุ ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลตนเองตามสุขอนามัย ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
GED4002 : การคิดและการตัดสินใจ (Thinking and Decision Making) 3(3-0-6)
หลักการ คุณค่าของการคิด ที่มาและธรรมชาติของการคิด การพัฒนาทักษะการคิดแบบต่างๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น เทคนิควิธีและเครื่องมือในการคิดและการตัดสินใจ การสื่อสารความคิดสู่บุคคลอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
GED4003 : คอมพิวเตอร์กับชีวิต (Computer and life) 3(2-2-5)
บทบาท ความสำคัญของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตและสังคมปฏิบัติการและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการแสวงหาความรู้และสื่อสารข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สารสนเทศ โดยคำนึงถึงจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- หมวดวิชาเฉพาะด้าน
2.1) กลุ่มวิชาชีพครูบังคับEAD0401 : ความเป็นครูและคุณธรรมจริยธรรม (Professional Teacher and Morality Ethics) 3(2-2-5)ความหมายความสำคัญและพัฒนาการของวิชาชีพครู บทบาทหน้าที่และภาระงานของครู คุณลักษณะของครูในยุคการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู เส้นทางความก้าวหน้าและการพัฒนาวิชาชีพครู คุณธรรมจริยธรรม การปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู หลักธรรมาภิบาล การสร้างศรัทธาต่อวิชาชีพ การปลูกฝังจิตวิญญาณ ความเป็นครู ศึกษาครูผู้มีแนวปฏิบัติดีและครูผู้สร้างคุณูปการต่อการศึกษาปัญหาที่มีผลกระทบต่อคุณธรรม และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพครูวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครูEAD0402 : ปรัชญาและการศึกษา (Philosophy and Education) 3(2-2-5)
ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทาง การศึกษาความหมายและความสำคัญของการศึกษา พัฒนาการของการจัดการศึกษาไทยการจัดการศึกษาตามแนวนโยบาย และบริบทที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีทางด้านเศรษฐกิจ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อการจัดศึกษาของไทย ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน และแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาในอนาคต วิเคราะห์และประยุกต์การใช้ปรัชญาการศึกษา และกลวิธีการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน